วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง



ประเพณีลอยกระทง
  
ประเพณีลอยกระทงเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 เริ่มขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ พระสนมเอกแห่งพระร่วงเจ้า เป็นผู้ให้กำเนิด ในปัจจุบัน การลอยกระทงได้แพร่หลาย และเป็นที่นิยมไปอย่างกว้างขวาง โดยผู้ใหญ่จะหาเด็กๆ มาช่วยกันทำกระทงนำไปลอยในแม่น้ำเพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา พร้อมทั้งอธิษฐานขอสิ่งดีๆ ให้แก่ตนเอง และคนรัก และครอบครัว ในวันลอยกระทงผู้คนจะพากันทำ กระทงจากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล เพราะเชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลายเมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองและได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมา

       ประเพณีลอยกระทงมีมานานจนสืบประวัติไม่ได้ พระยาอนุมานราชธน ได้ค้นคว้าที่มาของประเพณีลอยกระทงไทยทุกภาคตลอดจนถึงประเทศใกล้เคียงคือ พม่า กัมพูชา จีน อินเดีย ได้ความว่ามีประเพณีลอยกระทงทุกประเทศด้วยเหตุผลต่างๆ กัน แต่เดิมนั้นต่างเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโครม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีปแต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1



ความเชื่อของการลอยกระทง

- เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย

- เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนันทานที ในประเทศอินเดีย

- เพื่อลอยทุกข์ โรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแก่พระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง ที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้




แหล่งที่มา:  http://www.onlave.com/tag/ประเพณีลอยกระทง/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น